Newsประกาศทิ้งดอลลาร์ ปธน.เวเนซุเอลา ประกาศเลิกใช้ดอลลาร์ ชี้จะช่วยทำให้ประเทศมีอิสระทางเศรษฐกิจ

ประกาศทิ้งดอลลาร์ ปธน.เวเนซุเอลา ประกาศเลิกใช้ดอลลาร์ ชี้จะช่วยทำให้ประเทศมีอิสระทางเศรษฐกิจ

 

นิโกลัส มาดูโร ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา ประกาศเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2566 ว่ารัฐบาลจะเริ่มแผนการยกเลิกการใช้เงินดอลลาร์ในการทำธุรกรรมข้ามพรมแดน

นี่คือเส้นทางของเวเนซุเอลาและเส้นทางสู่ความเป็นอิสระทางเศรษฐกิจ ที่จะไม่มีการใช้สกุลเงินเพื่อลงโทษหรือกำหนดมาตรการคว่ำบาตรต่อประเทศใดประเทศหนึ่ง” ผู้นำเวเนซุเอลา กล่าว

อัตราเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ในประเทศฝั่งตะวันตกได้ผลักดันให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกหาทางเลือกอื่นแทนเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าเงินหยวนกำลังมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในเวทีการค้าโลก

ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีอัลแบร์โต เฟอร์นันเดซของอาร์เจนตินา และประธานาธิบดีลูอีซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา แห่งบราซิล ให้คำมั่นว่าจะพัฒนากรอบการใช้สกุลเงินของตนเองในการค้าทวิภาคี ท่ามกลางกระแสที่หลายประเทศทิ้งเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ

ในเดือนเมษายน เซร์คีโอ แมสซา รัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาร์เจนตินา ยืนยันว่าอาร์เจนตินาจะเริ่มชำระค่าสินค้านำเข้าจากประเทศจีนด้วยสกุลเงินหยวนแทนสกุลเงินดอลลาร์ของสหรัฐฯ ในความพยายามที่จะประหยัดเงินสกุลดอลลาร์ในคลังเงินสำรองระหว่างประเทศที่กำลังร่อยหรอลงอย่างต่อเนื่อง

ในช่วงปลายเดือนมีนาคม จีนและบราซิลบรรลุข้อตกลงการค้าโดยใช้สกุลเงินหยวนและเงินเรอัลในการทำธุรกรรมกันโดยตรงแทนการใช้ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดต้นทุนในการลงทุนและกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ

ในเดือนเดียวกัน เงินหยวนแซงหน้าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นแท่นสกุลเงินที่ใช้มากที่สุดในการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนของจีน 

ธนาคารกลางของอิรักประกาศในเดือนกุมภาพันธ์ว่า จะอนุญาตให้ธุรกิจของอิรักทำการค้ากับจีนโดยใช้สกุลเงินหยวนในการแลกเปลี่ยนเป็นครั้งแรก

ในเดือนมกราคม นาเลดี้ แพนดอร์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของแอฟริกาใต้กล่าวว่า กลุ่ม BRICS ซึ่งประกอบด้วยบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้จะสร้างสกุลเงินของตนเองที่สามารถลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์ของสหรัฐฯ เพื่อสร้างระบบการชำระเงินที่ยุติธรรมกว่าและจะไม่ทำให้ความมั่งคั่งไหลไปสู่ประเทศที่ร่ำรวย

เวเนซุเอลาได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในห้าประเทศที่ถูกคว่ำบาตรมากที่สุดในโลก 

ปีที่แล้ว รัฐบาลสหรัฐฯ อนุญาตให้ เชฟรอน หนึ่งในผู้ประกอบกิจการพลังงานข้ามชาติรายใหญ่ของสหรัฐฯ กลับไปผลิตน้ำมันในเวเนซุเอลาได้ อย่างจำกัด แต่มาตรการคว่ำบาตรส่วนใหญ่ยังคงอยู่และยังคงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเวเนซุเอลาต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า