NewsTimeline ปัญหาค่าไฟ จากรัฐบาล ‘ยิ่งลักษณ์’ ถึง ‘ประยุทธ์’ และมาตรการแก้ไขปัญหาระยะสั้น-ยาว

Timeline ปัญหาค่าไฟ จากรัฐบาล ‘ยิ่งลักษณ์’ ถึง ‘ประยุทธ์’ และมาตรการแก้ไขปัญหาระยะสั้น-ยาว

ปี 2555 : จากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของไทย หรือ Power Development Plan (PDP) ฉบับปรับปรุง หรือ PDP 2555 รัฐบาลยิ่งลักษณ์ประมาณการสำรองไฟฟ้า ที่ประมาณร้อยละ 15 – 24 โดยได้ซื้อไฟฟ้าจากเอกชนรายใหญ่จำนวน 5,400 MV โดยจะเริ่มป้อนเข้าระบบตั้งแต่ปี 2564 

 

ปี 2557 : รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ ได้สั่งให้คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ทบทวนความจำเป็นของโครงการโรงไฟฟ้าตามสัญญาปี 2555 แต่สุดท้ายก็แพ้คดีในศาลปกครอง  (แพ้คดีในศาลชั้นต้นปี 2559, อุทธรณ์ปี 2560, แพ้คดีในศาลปกครองสูงสุดปี 2564) 

 

ปี 2558 : กำลังสำรองไฟฟ้าจริงอยู่ที่ร้อยละ 30 ซึ่งผิดจากการประมาณการในแผนปี 2555 ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ซึ่งคาดการณ์ที่ร้อยละ 15 ทำให้มีกำลังสำรองไฟฟ้าเยอะเกินจริง ส่งผลกระทบต่อค่าไฟในภาพรวม

 

รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ ออกมาตรการเพื่อบรรเทาปัญหาค่าไฟของประชาชน ดังนี้ 

 

(1) ลดค่าไฟฟ้าฐานลง จาก 3.77 บาท/หน่วยเป็น 3.75 บาท/หน่วย

(2) ลดค่า FT จาก 0.69 บาท/หน่วย ในช่วงปี 2557 เป็น ต่ำกว่า 0 บาท/หน่วย ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปี 2564 

 

โดยใช้เงินของการไฟฟ้าทั้งสามมาอุดหนุน (แต่ปัจจุบัน เงินคงเหลือของทั้งสามการไฟฟ้าฯ ได้หมดลงแล้ว เนื่องจากได้นำไปอุดหนุนค่าไฟให้กับประชาชนในช่วงโควิด)

 

นอกจากนี้ยังได้สั่งปรับปรุงแผนกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ เป็นแผน PDP 2558, 2561, 2563 เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

  1. รับซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจาก สปป.ลาว เพิ่มเติม

  2. โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก

  3. โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar rooftop) สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย ปี 2562 – 2565

  4. โครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานในช่วงระหว่างปี 2565 – 2573

 

โดยผลการดำเนินงานดังกล่าวสามารถทำให้อัตราส่วนของพลังงานหมุนเวียนปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26 ในปี 2558 เป็นร้อยละ 33 ในปี 2565 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 52 ในปี 2580

 

ทั้งนี้ หากดำเนินการตามแผน PDP 2563 ตามที่รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ฯ ได้วางแผนไว้ จะส่งผลให้สัดส่วนกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้า IPP ก๊าซธรรมชาติ ตั้งแต่ปี 2570 ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 28 ในปี 2569 เหลือร้อยละ 14 ในปี 2580 สะท้อนถึงการวางแผนระยะยาวในการลดปริมาณการรับซื้อไฟจากโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ ซึ่งมีผลต่อค่าไฟระยะยาว

 

23 ก.ค.2558 : ทาง IPD GSRC และ GPD ได้ยื่นฟ้อง กกพ. , สกพ. กระทรวงพลังงาน และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ ต่อศาลปกครองกลาง

8 ธ.ค.2559 : ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาว่า ให้กัลฟ์ชนะคดีและสั่งห้ามชะลอการพิจารณาอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน

4 ม.ค.2560 : กระทรวงพลังงานได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลปกครองกลาง

14 ธ.ค.2564 : ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษายืนยันให้กัลฟ์ชนะคดีหน่วยงานภาครัฐ และดำเนินการป้อนไฟเข้าระบบได้ตามสัญญาเดิมที่ทำไว้ในปี 2555

 

ปี 2564 : เกิดวิกฤตพลังงานจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาพลังงานที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงเวลาปกติอย่างมาก

 

ปี 2565 : จากสัญญาเมื่อปี 2555 บริษัทเอกชนป้อนกำลังไฟฟ้าเข้าสู่ระบบในปี 2564 แต่เมื่อเข้าปี 2565 พบว่ากำลังสำรองไฟฟ้าอยู่ที่ร้อยละ 36 เนื่องจากระหว่างปี 2563 – 2565 เกิดวิกฤตโควิด ทำให้กำลังการใช้ไฟฟ้าลดลงมหาศาล ส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าในภาพรวม




เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า