
“ขายชาติ” จริงหรือ? เปิดกฎหมายต่างชาติถือครองที่ดิน
ร่างกฎหมายต่างชาติถือครองที่ดินในประเทศ กำลังถูกโจมตีจากฝ่ายการเมืองและกลุ่ม NGO ว่าเป็น “กฎหมายขายชาติ” ที่เปิดโอกาสให้ต่างชาติมาฮุบที่ดินคนไทย และต่อไปคนไทยจะไม่มีที่อยู่ในประเทศไทย
วันนี้ The Structure จะมาเปิดข้อมูลให้ทราบกันว่า ข้อกล่าวหานั้นเป็นจริงหรือไม่ และข้อกำหนดในการที่ต่างชาติจะเข้ามาถือครองที่ดินในไทยได้ มีอะไรบ้าง ?
Boost Up ประเทศไทยจากเงินลงทุนต่างชาติ
รัฐบาลไทยตั้งเป้าว่า ภายใน 5 ปีงบประมาณ (2565-2569) จะใช้มาตรการช่วยเพิ่มจำนวนชาวต่างชาติที่พักอาศัยในประเทศไทย 1 ล้านคน เพิ่มปริมาณเงินใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจมูลค่า 1 ล้านล้านบาทเพิ่มการลงทุนในประเทศ 8 แสนล้านบาท และสร้างรายได้จากการเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้น 2.7 แสนล้านบาท
โดยมติ ครม. เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2565 เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยออกประกาศ เรื่องการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางกลุ่มเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการดึงชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้าประเทศไทย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2565 และมีผลบังคับใช้เดือน ก.ย. 2565
วีซ่าพำนักระยะยาวสำหรับชาวต่างชาติศักยภาพสูง 4 กลุ่ม
สำหรับชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง 4 กลุ่ม ที่มีสิทธิได้รับวีซ่าประเภทการพำนักระยะยาว (Long-term resident visa : LTR Visa) ได้แก่
- กลุ่มประชากรผู้มีความมั่งคั่งสูง (Wealthy Global Citizen)
- ลงทุนขั้นต่ำ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ (18 ล้านบาท) ในพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) หรือลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
- เงินเดือนหรือเงินบำนาญขั้นต่ำปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ (2.8 ล้านบาท) ในช่วง 2 ปี
- มีทรัพย์สินขั้นต่ำ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (35 ล้านบาท)
- กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ (Wealthy Pensioner)
- ลงทุนขั้นต่ำ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ (9 ล้านบาท) ในพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) หรือลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
- มีเงินบำนาญขั้นต่ำปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ (1.4 ล้านบาท) หรือมีเงินบำนาญขั้นต่ำปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ (2.8 ล้านบาท) กรณีไม่มีการลงทุน
- กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย (Work-from-Thailand Professional)
- มีรายได้ส่วนบุคคลปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ (2.8 ล้านบาท) ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หรือปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ (1.4 ล้านบาท) หากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป/ครอบครองทรัพย์สินทางปัญญา/ได้รับเงินทุน Series A1 และมีประสบการณ์การทำงาน 5 ปี
- กลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (High-Skilled Professional)
- มีรายได้ส่วนบุคคล ปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ (2.8 ล้านบาท) ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หรือปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ (1.4 ล้านบาท) หากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป และมีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 5 ปีในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
รวมถึงผู้ติดตามของคนต่างด้าว (คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีอายุไม่เกิน 20 ปี จำนวนไม่เกิน 4 คน) สามารถพำนักและทำงานในประเทศไทยได้
สิทธิต่างชาติถือครองที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยไม่เกิน 1 ไร่ ต้องลงทุน 40 ล้านอย่างน้อย 3 ปี
หลังจากการออกวีซ่าพำนักระยะยาวสำหรับชาวต่างชาติศักยภาพสูงแล้ว ขั้นต่อมาคือ กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย กำลังร่างกฎกระทรวงเพิ่มเติมในเรื่องการให้สิทธิชาวต่างชาติถือครองที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยไม่เกิน 1 โดยมี
หลังจากมาตรการออกวีซ่าพำนักระยะยาวสำหรับชาวต่างชาติศักยภาพสูงแล้ว เพื่อดึงเม็ดเงินลงทุนและชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงให้มาพำนัก ทำงาน และลงทุนในประเทศไทยแล้ว กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย กำลังร่างกฎกระทรวงเพิ่มเติมในเรื่องการให้สิทธิชาวต่างชาติถือครองที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยไม่เกิน 1 ไร่และใช้เป็นที่อยู่อาศัยเท่านั้น
โดยมีเงื่อนไขว่าต้อง ลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท และ ต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 3 ปี ในธุรกิจหรือกิจการประเภทที่ภาครัฐกำหนด
เช่น การลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึง การลงทุนในกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรม ในตลาดทุน พ.ศ. 2550
ลดค่าโอนบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท เฉพาะคนสัญชาติไม่เกี่ยวต่างชาติ
ส่วนอีกประเด็นที่ถูกเอามาโยงเข้ากับเรื่องต่างชาติถือครองที่ดิน ก็คือ เรื่องการลดค่าธรรมเนียมการซื้อขายบ้านพร้อมที่ดินหรืออาคารชุดที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งจะได้สิทธิลดหย่อนค่าธรรมเนียมจาก 2% เป็น 0.01% ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 18 มกราคม นั้นใช้ ‘เฉพาะผู้มีสัญชาติไทย’ เท่านั้น
ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องมาตรการต่างชาติพำนักระยะยาว หรือต่างชาติถือครองที่ดินแต่ประการใด
สรุป
เห็นได้ชัดเจนว่าข้อกำหนดในการออกวีซ่าพำนักระยะยาวนั้น มีเงื่อนไขที่ ‘สูงมาก’
คือ ต้องมีเงินมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอย่างน้อย 18 ล้าน ทรัพย์สินขั้นต่ำ 35 ล้าน หรือต่อให้เป็นคนเกษียณก็น้อยลงครึ่งนึงเท่านั้น หรือนอกนั้นก็ต้องเป็นคนที่มีศักยภาพหรือมีองค์ความรู้ที่จะคิดค้นนวัตกรรม และเป็นแรงงานมีฝีมือ และประสบการณ์ทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป รวมถึงมีการกำหนดเงินเดือนขั้นต่ำในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาด้วย
นอกจากนี้ในแง่กฎหมายถือครองที่ดิน ยังจำกัดไว้ที่ไม่เกิน 1 ไร่ แถมต้องมีเงินมาลุงทุนอย่างน้อย 40 ล้านและลงทุนภายใน 3 ปี ยังไม่รวมภาษีต่างๆ ที่ภาครัฐจะจัดเก็บจากชาวต่างชาติเหล่านี้อีก
ซึ่งภาครัฐเองก็มีโควตาสำหรับการเข้ามาลงทุนที่ชัดเจนอยู่แล้ว ว่าจำนวนเม็ดเงินที่เปิดรับจะเป็นเท่าไร และบุคคลที่จะผ่านเข้ามาก็ต้องถูกตรวจสอบทั้งประวัติ เม็ดเงินลงทุน และเงินที่จะเอาไปลงทุนนั้นก็ถูกกำหนดไว้อีกว่าต้องไปลงทุนในประเภทไหนที่ภาครัฐวางไว้
ในขณะที่หลายประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศ มาตรการถือครองที่ดินของต่างชาตินั้นทำได้ง่ายและไม่ได้มีข้อกำหนดเยอะเหมือนของประเทศไทยที่กำลังจะบังคับใช้ แต่ทำไมถึงไม่มีใครอออกมาบอกว่า “ขายชาติ” บ้างเลย ?
หรือแท้ที่จริง เรากำลังตกเป็นเหยื่อของฝ่ายการเมืองและกลุ่ม NGO การเมือง ที่จะเอาเรื่องดังกล่าวมาประเด็นฉกฉวยประโยชน์ทางการเมืองหรือไม่?
#TheStructureArticle
#ต่างชาติถือครองที่ดิน #กฎหมาย #BoostUpThailand #ขายชาติ