Newsคาด APEC 2022-APEC CEO 2022 พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย ภาคเอกชนเห็นพ้องนำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ฟื้นฟูเศรษฐกิจ คาดใน 3-5 ปี เกิดประโยชน์ 5-6 แสนล้านบาท

คาด APEC 2022-APEC CEO 2022 พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย ภาคเอกชนเห็นพ้องนำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ฟื้นฟูเศรษฐกิจ คาดใน 3-5 ปี เกิดประโยชน์ 5-6 แสนล้านบาท

ภาคเอกชน สรุปผลเวที  APEC 2022 – APEC CEO Summit 2022 เห็นพ้องนำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ฟื้นฟูเศรษฐกิจยุคหลังโควิด-19 อย่างยั่งยืน สมดุล และครอบคลุม เป็นโอกาสเศรษฐกิจไทยฟื้น

 

รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวสรุปภาพรวมการจัดงาน ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29  เห็นพ้องกับการนำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG มาขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุคหลังโควิด-19 อย่างยั่งยืน สมดุล และครอบคลุมพร้อมรับมือความท้าทายในอนาคตโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยมีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม 3 ข้อตามที่ไทยตั้งเป้าได้แก่ 

 

1.การผลักดันให้เอเปคทบทวนการหารือเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกในบริบทหลังโควิด-19 โดยมีแผนงานการขับเคลื่อนการหารือที่ต่อเนื่องระหว่างปี ค.ศ.2023-2026 เพื่อให้เอเปคสามารถเดินหน้าได้อย่างชัดเจน

 

2.การฟื้นฟูการเดินทางข้ามพรมแดนที่สะดวกปลอดภัย โดยคณะทำงานเฉพาะกิจที่ไทยเป็นประธานได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อให้เอเปคมีกลไกและแนวทางการรับมือกับความท้าทายในอนาคต 

 

3.การรับรอง “เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG” ซึ่งเป็นเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนฉบับแรกของเอเปค โดยเน้นเป้าหมายหลัก 4 ข้อ ได้แก่ การจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ การค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรยั่งยืน และการลดและจัดการของเสียอย่างยั่งยืน โดยได้เปิดตัวเว็บไซต์www.bangkokgoals.apec.org รวบรวมแนวปฏิบัติที่และข้อริเริ่มของสมาชิกเอเปคเป็นฐานข้อมูลสำหรับผู้สนใจ 

 

ส่วน เวที APEC CEO Summit 2022 ซึ่งเป็นเวทีคู่ขนาน ได้บทสรุปสอดคล้องกับที่ประชุม APEC 2022 โดยผู้นำภาครัฐและภาคธุรกิจที่เข้าร่วม ต่างเห็นพ้องกันว่าสมาชิกเอเปคจำเป็นต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก  ใน 3 ประเด็นหลัก คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) การเติบโตอย่างครอบคลุม (Inclusive Growth) และความเป็นหุ้นส่วนในภูมิภาค (Regional Partnership) รวมถึงการแก้ปัญหาความถดถอยทางเศรษฐกิจปี 2023-2024 (Economic Recession) โดยเน้นสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็งทั้งในและนอกภูมิภาค 

 

การเป็นเจ้าภาพของไทยในการประชุมครั้งนี้ จะส่งผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า มูลค่ารวม 5-6 แสนล้านบาท โดยในระยะสั้น ภายใน 3-6 เดือน การสร้างภาพลักษณ์และ Soft Power ซึ่งเป็นการส่งสริมการท่องเที่ยวของไทย จะช่วยให้นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 1-2 แสนคน สร้างรายได้ให้ประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจต่อเนื่องประมาณ 10,000 ล้านบาท สร้างความเข้าใจที่มากขึ้นให้นักลงทุนต่างประเทศ ที่มองว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการลงทุน โดยเฉพาะอุตสาหกรรม BCG พลังงาน  ยานยนต์ไฟฟ้าเศรษฐกิจดิจิทัล และอุตสาหกรรมบริการ เช่น ท่องเที่ยว ธุรกิจบริการสุขภาพ เป็นตัน 

 

ส่วนประโยชน์ระยะยาว คาดว่าจะสร้างการลงทุน FDI มูลค่าประมาณ 6 แสนล้านบาท ภายใน 3-5 ปี จากการค้าและการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างไทยกับนานาประเทศ โดยเฉพาะจีนและซาอุดีอาระเบียและกลุ่มประเทศสมาชิกคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Corporation Council-GCC) 6 ประเทศ   

 

ขณะที่การเสวนาในหัวข้อ “มุมมองในอนาคตของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) : การต่อยอดและภาคเอกชนจะเดินหน้าอย่างไร”  โดยมี นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน และประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย,  นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอตุสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค 2022 (APEC Business Advisory Council-ABAC), นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย และ ดร.พจน์ อร่าม วัฒนานนท์  รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และ ประธานจัดงาน APEC CEO SUMMIT  เข้าร่วม ต่างเห็นพ้องว่า การจัดงาน APEC ในครั้งนี้สร้างโอกาสและเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก ถือเป็นโอกาสในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย  

 

และเป็นโอกาสสำคัญกับหลาย ๆ Sector อาทิ ภาคการค้าและการลงทุน จะเกิดการจ้างงาน เกิดการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ให้กับคนไทย รวมถึงการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีขั้นสูง  การดึงดูดต่างชาติเข้ามาลงทุน โดยเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวก็ได้รับอานิสงส์เช่นกัน เชื่อว่าในปี 2566 จำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มมากขึ้นกว่าปีนี้เป็นเท่าตัว และจะมีนักท่องเที่ยวจากจีนเพิ่มเติมอีกในปีหน้า ซึ่งจะทำให้ภาคท่องเที่ยวและบริการของไทยฟื้นตัวขึ้นได้อย่างโดดเด่น  ดังนั้นเราจะทำอย่างไรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน  ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  

 

นอกจากนี้ ยังเห็นพ้องว่า แนวคิดเศรษฐกิจ BCG เป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนกับทุกภาคส่วน  ไม่วาจะเป็นด้านเกษตร ท่องเที่ยว สินค้าออแกนิกส์ หรือสิ่งแวดล้ม ซึ่งเชื่อว่าคนไทยจะได้ประโยชน์  ขณะนี้ทั้งโลกพูดถึง ESG ถือเป็นกรอบ แต่ BCG เป็นสิ่งที่ทำได้จริง และจะเห็นในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า