Articlesปัญหาภัยแล้งในประเทศไทย นำพาอะไรมาบ้าง ?

ปัญหาภัยแล้งในประเทศไทย นำพาอะไรมาบ้าง ?

ในความคิดของคนทั่วไปอย่างเรา ๆ อาจจะมองว่าประเทศไทยตั้งแต่อดีตนั้นเป็นดินแดนเกษตรกรรม ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว มีความอุดมสมบูรณ์ ไม่ขาดน้ำ หรือบางครั้งถึงขนาดน้ำท่วมก็มี

 

อย่างไรก็ตาม ทุก ๆ ปีในหลายพื้นที่ของประเทศไทยนั้น กลับประสบปัญหาจาก “ภัยแล้ง” อยู่ตลอด ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของโลกในปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง เหตุการณ์เหล่านี้ ไม่ว่าจะน้ำแล้งหรือน้ำท่วม กลับกลายเป็น “ภัยพิบัติ” และเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตในโลกปัจจุบันอย่างปฏิเสธไม่ได้

 

หนังสือ “ข้อมูลพื้นฐาน : ภัยแล้ง” ของสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรระบุว่าพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมากที่สุดนั้นก็คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) ตอนกลาง เพราะพื้นที่เหล่านั้นไม่ได้รับอิทธิพลทางภูมิอากาศเมื่อพายุมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้ามายังประเทศไทย และหากปีใดที่ไม่มีพายุดังกล่าวแล้ว จะเกิดภัยแล้งรุนแรงมากในพื้นที่เหล่านั้น

 

อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคอื่น ๆ ของไทยก็ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งเช่นกัน โดยฤดูแล้ง 2 ช่วงหลักคือ ช่วงสิ้นฤดูฝน ในเดือนตุลาคม ไปจนถึงฤดูร้อน เดือนพฤษภาคม ประเทศไทยตอนบน คือ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคตะวันออก จะไม่มีหรือมีฝนตกน้อย และในช่วงนี้มักจะเกิดไฟป่าด้วย

 

อีกช่วงหนึ่งคือช่วงกลางของฤดูฝน โดยส่วนมากจะเกิดฝนทิ้งช่วง ความแห้งแล้งจะเกิดเฉพาะท้องถิ่น แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะครอบคลุมพื้นที่เป็นวงกว้างเกือบทั่วประเทศ

 

ภัยแล้งนั้นถือเป็นปรากฏการณ์ที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาโดยที่หลายคนอาจไม่ตระหนักถึง อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของมันนั้นกลับใกล้ตัวและมีผลกับชีวิตความเป็นอยู่ของของเรามาก ทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม อย่างการเกิดขึ้นของฝุ่น PM 2.5 ที่ชาวเมืองกรุงเทพมหานครต้องเผชิญกันในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้นก็มีที่มาส่วนหนึ่งจากภัยแล้งนี่เอง

 

ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปควรตระหนักถึงและเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในประเทศ

 

ล่าสุด ทางฝั่งภาครัฐนำโดยพลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก พร้อมผู้บริหารหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจจากกรมทรัพยากร น้ำบาดาล การประปาส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร่วมกับภาคเอกชน คือนายประสงค์ อินทรหนองไผ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ร่วมเปิดโครงการ “ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง” ประจำปี 2566

 

ถือเป็นความร่วมมือในการช่วยบรรเทา และเป็นการสร้างความตระหนักรู้ถึงภัยแล้งที่เกิดขึ้นในประเทศที่น่าเอาเป็นตัวอย่าง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า