Newsพลังงานแสงอาทิตย์ และค่าใช้จ่ายแฝงที่บางพรรคการเมืองไม่ได้บอกคุณ

พลังงานแสงอาทิตย์ และค่าใช้จ่ายแฝงที่บางพรรคการเมืองไม่ได้บอกคุณ

ในช่วงการเลือกตั้งครั้งนี้ มีหลายพรรคการเมืองที่หยิบเอานโยบายติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ตามครัวเรือนขึ้นมาเพื่อการหาเสียง โดยประกาศชวนให้เชื่อว่าจะช่วยลดภาระค่าไฟ อีกทั้งยังเป็นพลังงานสะอาด น่าจะช่วยลดภาระเรื่องการปล่อยคาร์บอนจากการใช้พลังงานลงได้อีกด้วย

อย่างไรก็ดี การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์ ยังมีจุดอ่อนในตัวของมันเองอยู่ เนื่องจากแหล่งพลังงานคือแสงอาทิตย์ มีปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ทำให้ตัวมันเองนั้นมีความ “ไม่เสถียร” สูงในการผลิตพลังงานไฟฟ้า

 

ข้อจำกัดประการแรก และถือเป็นข้อจำกัดใหญ่ของพลังงานแสงอาทิตย์ คือพลังงานที่ได้แปรผันตาม “มุมของดวงอาทิตย์” ที่กระทำต่อแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งค่าดังกล่าวนี้ แปรผันตามฤดูกาล และช่วงเวลาของวัน 

 

ในขณะที่เมฆและฝนถือเป็นอุปสรรคหลักของการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยในช่วงที่มีเมฆมาก การผลิตไฟฟ้าก็จะทำได้น้อย และในช่วงที่ฝนตกหนัก แผงโซลาร์จะไม่มีความสามารถในการผลิตไฟฟ้าเลย เนื่องจากไม่มีแดดนั่นเอง

 

ในระบบ Solar Farm (โซลาร์ ฟาร์ม) ซึ่งเป็นระบบใหญ่ จะมีการติดตั้งระบบติดตามดวงอาทิตย์ (Solar Tracking) เพื่อดึงประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้ แต่สำหรับการใช้ตามบ้านนั้น ต้องการต้นทุนการติดตั้ง และการดูแลที่สูง ไม่คุ้มค่าการลงทุน

แต่ถึงแม้จะมีระบบ Solar Tracking แล้วก็ตาม แต่ในวันที่มีเมฆมาก หรือฝนตก ก็ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้อยู่ดี ระบบ Solar Farm บางแห่งจึงติดตั้งแบตเตอรี่  เพื่อการสำรองไฟ ให้มีความเสถียรมากยิ่งขึ้น แต่ระบบนี้ถือว่าแพงสำหรับการใช้ในครัวเรือน 

 

สำหรับระบบการไฟฟ้าแล้ว การมีแหล่งพลังงานที่ไม่มีความเสถียร โดยเฉพาะระบบ Solar Farm ขนาดใหญ่ ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่อย่างยิ่ง มีโอกาสที่จะเกิดไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง ซึ่งนั่นไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้กระบวนการผลิตหยุดชะงัก  (Production Breakdown) ก่อให้เกิดผลเสียต่อกระบวนการผลิต และเศรษฐกิจของประเทศไปด้วย

 

เพื่อเป็นการชดเชย ความไม่เสถียรนี้ ภาครัฐมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อการสำรองพลังงาน (Back Up) เพิ่มเติม ยิ่งประเทศมีแหล่งพลังงานที่ไม่มีความเสถียร เช่นพลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลมมากเท่าไร ก็มีความจำเป็นจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อการสำรองพลังงานให้มากขึ้นเท่านั้น

นี่คือสาเหตุว่าทำไม ประเทศของเราในวันนี้ จึงมีโรงไฟฟ้าที่ดูจะมากเกินความจำเป็น เนื่องจากโรงไฟฟ้าเหล่านั้น มีไว้เพื่อการสำรองพลังงาน ในกรณีระบบต้องการพลังงานชดเชย จากการที่ Solar Farm หรือพลังงานทดแทนอื่น ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้จากข้อจำกัดของตัวมันเอง

 

นอกจากนี้ ปัญหาใหญ่อีกประการ ของระบบพลังงานแสงอาทิตย์คือ มีความสามารถในการผลิตไฟฟ้าเฉพาะช่วงเวลากลางวันได้เท่านั้น ซึ่งในช่วงเวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่การไฟฟ้า “ไม่ได้ต้องการ” ไฟฟ้า แต่ช่วงเวลาที่การไฟฟ้าต้องการคือช่วงเวลา 18:00 -21:00 น. นั้น พลังงานแสงอาทิตย์ ไม่ว่าจะระบบเล็กหรือใหญ่ ก็ไม่สามารถผลิตพลังงานป้อนเข้าระบบไฟฟ้าได้

หรือพูดง่าย ๆ ว่า ความสามารถของพลังงานแสงอาทิตย์ และความต้องการการใช้ไฟฟ้านั้น ไม่มีความสัมพันธ์กัน

 

ดังนั้น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ตามบ้านนั้น เหมาะกับครอบครัวที่มีผู้อยู่อาศัยในช่วงเวลากลางวัน และมีปริมาณการใช้ไฟในช่วงเวลากลางวันเท่านั้น แต่ไม่เหมาะกับครอบครัวที่ไม่มีใครอยู่บ้านช่วงกลางวัน หรือมีปริมาณการใช้ไฟต่ำ

 

สำหรับการขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้านั้น ถ้ามีจำนวนผู้ขายมาก รัฐจำเป็นที่จะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดูแลผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อยเหล่านั้น เท่ากับเป็นการผลักภาระค่าไฟฟ้าจากครัวเรือน ไปสู่ภาครัฐ กระทบต่อการใช้งบประมาณประจำปี และภาษีของทุกคนนั่นเอง

นี่อาจกลายเป็นตัวแปรให้ค่าไฟฟ้าผันแปร (FT: Float Time) เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังกลายเป็นประเด็น “ความไม่เท่าเทียม” ระหว่างผู้ที่มีและผู้ที่ไม่มีแผงโซลาร์เซลล์อีกด้วย

การออกนโยบายให้ครัวเรือนสามารถขายไฟให้การไฟฟ้าได้นั้น จึงควรมีการพิจารณาไตร่ตรองอย่างถ้วนถี่ เพื่อผลประโยชน์และความเท่าเทียมกันในสังคม

ด้วยเหตุนี้เอง การส่งเสริมการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ตามบ้าน และการขายไฟโดยประชาชนนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นนโยบายที่ฟังดูดี เพราะประชาชนสามารถลดภาระค่าไฟฟ้าของตนเองลงได้ในระดับหนึ่ง แต่ในทางกลับกัน ประเทศจำเป็นจะต้องแปรงบประมาณส่วนหนึ่ง เพื่อการดูแลระบบไฟฟ้า และการสร้างโรงไฟฟ้าสำรองให้เพียงพอ ต่อการดูแลระบบไฟฟ้าให้เสถียร มีความมั่นคงมากเพียงพอ

มันคือการผลักภาระของบุคคล ไปที่ภาครัฐ และภาษีของคนทั้งประเทศนั่นเอง

 

สำหรับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในภาคการเกษตรนั้น เป็นคนละเรื่องกับภาคครัวเรือน เนื่องจากในภาคการเกษตรนั้น แผงโซลาร์เซลล์ไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบกริดของการไฟฟ้า จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสำรองไฟ

อีกทั้งในภาคการเกษตร ใช้พลังงานเพื่อการสูบและรดน้ำเป็นหลัก ซึ่งในวันที่ฝนตกจนไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ เกษตรกรก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรดน้ำอยู่แล้วด้วยเช่นกัน

ดังนั้น การส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในภาคการเกษตร จึงถือว่าเป็นเรื่องที่ดี และเหมาะสม แต่สำหรับการส่งเสริมในภาคครัวเรือนนั้น ควรจะทำก็ต่อเมื่อไม่มีการขายไฟเข้าสู่ระบบกริดส่วนกลาง ควรใช้เฉพาะในบ้านเรือนของตนเองเพื่อลดภาระค่าไฟ ซึ่งเหมาะกับครอบครัวที่มีผู้อยู่อาศัยในบ้านเวลากลางวันมากกว่า

 

ในโลกนี้ ไม่มีอะไรที่ได้มาฟรี นโยบายโซลาร์เซลล์ ที่บางพรรคการเมืองใช้โฆษณาหาเสียงนั้น ก็มีราคาที่ต้องจ่ายในตัวมันเองอยู่เช่นกัน เพียงแค่ว่า เขาไม่ได้บอกคุณ เท่านั้นเอง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า