Newsอย่าเห็นแก่ของถูก! “หมูเถื่อน” อันตรายกว่าที่คิด ไม่ได้ตรวจโรค แถมเจอทั้งสารปนเปื้อนและเชื้อรา

อย่าเห็นแก่ของถูก! “หมูเถื่อน” อันตรายกว่าที่คิด ไม่ได้ตรวจโรค แถมเจอทั้งสารปนเปื้อนและเชื้อรา

รศ.น.สพ. ดร.คมกริช  พิมพ์ภักดี คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยถึง สถานการณ์หมูเถื่อนที่กำลังระบาดอย่างหนักทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานว่า กำลังส่งผลต่อสุขอนามัยของคนไทย ซึ่งสามารถก่อปัญหาต่อระบบสาธารณสุขในอนาคต เนื่องจากหมูเถื่อนที่ลักลอบนำเข้ามานั้น เป็นหมูหมดอายุ ไม่มีคุณภาพ ไม่ผ่านการตรวจโรค และมีสารปนเปื้อนอันตรายกว่าที่คาด  

 

“ประเทศไทยมีกฏหมายหลายฉบับที่ออกมาเพื่อความปลอดภัยทางอาหารของคนไทย อย่างหมูไทยจะต้องผ่านการตรวจทั้งก่อนชำแหละและหลังชำแหละ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าเป็นหมูที่ปลอดภัยต่อคนไทย แต่หมูเถื่อนที่ไม่ผ่านการตรวจสอบจากเจ้าพนักงาน มีทั้งเชื้อโรคหรือสารต้องห้ามที่ประเทศไทยไม่อนุญาตให้ใช้ ซึ่งเป็นอันตรายถึงผู้บริโภคได้” รศ.น.สพ.ดร.คมกริช กล่าว  

 

 

ทั้งนี้ หมูที่ลักลอบเข้ามาจากสหภาพยุโรปและอเมริกาเป็นหมูแช่แข็งที่ต้องพึงระวัง เพราะส่วนใหญ่เป็นหมูไม่ได้คุณภาพ บางล๊อตเป็นหมูหมดอายุแล้ว หรือเป็นหมูที่คนในประเทศต้นทางคัดทิ้ง ไม่ต้องการบริโภค แต่แทนที่จะฝังทำลายกลับส่งเข้ามาดั๊มพ์ในประเทศไทย โดยขายในราคาถูกมาก เป็นหมูด้อยคุณภาพ

 

อีกทั้งการขนส่งทางไกลที่ใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะถึงเมืองไทยย่อมไม่ได้มาตรฐาน และมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปนเปื้อนในระหว่างการเดินทาง และยังมีสารตกค้างอื่นๆ ที่เป็นสารก่อมะเร็ง เช่น เบต้าอะโกรนิสต์ และยาปฏิชีวนะที่บางประเทศยังอนุญาตให้ใช้  รวมถึงบางส่วนยังปนเปื้อนเชื้อรา ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพผู้บริโภค

 

โดยเบื้องต้นอาจพบอาการท้องเสีย หรือในระยะยาวก็สามารถพบเชื้อปนเปื้อนนั้นๆ ตกค้างในร่างกาย จนทำให้เกิดการเจ็บป่วยเรื้อรัง และก่อปัญหาด้านสุขภาพและการสาธารณสุขของประเทศในระยะยาว

 

ผู้บริโภคควรซื้อหาเนื้อหมูจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และหากพบราคาหมูที่ถูกผิดปกติก็ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ หมูกระทะ ไม่ควรนำมาจำหน่ายให้ลูกค้า ซึ่งตรงนี้เป็นจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคมที่ทุกร้านควรจะมี

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า