Newsจี้เฟสบุ๊กจ่ายค่าชดเชยให้ชาวโรฮิงญา ฐานเผยแพร่เนื้อหาปลุกปั่นความเกลีดชัง

จี้เฟสบุ๊กจ่ายค่าชดเชยให้ชาวโรฮิงญา ฐานเผยแพร่เนื้อหาปลุกปั่นความเกลีดชัง

องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) ออกมาเรียกร้องให้ “เฟซบุ๊ก” จ่ายค่าชดเชยให้แก่ชาวโรฮิงญาหลายแสนคนที่ต้องพลัดถิ่นฐานจากพม่า กรณีปล่อยให้มีการเผยแพร่เนื้อหาปลุกปั่นความเกลียดชัง (hate speech) จนมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คนกลุ่มนี้

ชาวโรฮิงญาเป็นชาวมุสลิมกลุ่มน้อยที่ตกเป็นเหยื่อปฏิบัติการกวาดล้างของรัฐบาลทหารพม่าเมื่อช่วงปี 2017 ซึ่งทำให้พวกเขาต้องละทิ้งบ้านเรือนหนีตายไปยังบังกลาเทศ และยังคงต้องอาศัยอยู่ตามแคมป์ผู้ลี้ภัยมาจนถึงทุกวันนี้

สมาคมเหยื่อชาวโรฮิงญาและนักสิทธิมนุษยชน ชี้ว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับชาวโรฮิงญาส่วนหนึ่งมาจาก “ระบบอัลกอริทึม” ของเฟซบุ๊กที่แสดงเนื้อหาความรุนแรง ข้อมูลบิดเบือน และถ้อยคำที่ยุยงให้เกิดความเกลียดชังต่อคนกลุ่มน้อยเหล่านี้

“ชาวโรฮิงญาหลายคนพยายามแจ้งรายงานเกี่ยวกับเนื้อหาที่ยั่วยุให้เกิดความเกลียดชังผ่านช่องทาง report ของเฟซบุ๊ก แต่ก็ไม่เป็นผล เฟซบุ๊กยังคงปล่อยให้ถ้อยคำรุนแรงเหล่านี้แพร่กระจายออกไปจนถึงกลุ่มผู้ฟังในพม่าที่ไม่เคยรับรู้มันมาก่อน” แอมเนสตี้ฯ ระบุในรายงานที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 29 ก.ย.

องค์กรสิทธิมนุษยชนดังกล่าวยังอ้างถึงชุดเอกสาร ‘Facebook Papers’ ซึ่งมีผู้นำมาเปิดโปงเมื่อเดือน ต.ค. ปี 2021 โดยเอกสารนี้ระบุชัดเจนว่า ผู้บริหารของเฟซบุ๊ก “ทราบดี” ว่าแพลตฟอร์มกำลังถูกใช้เป็นช่องทางเผยแพร่เนื้อหาโจมตีชาติพันธุ์กลุ่มน้อยและกลุ่มคนชายขอบอื่นๆ

ผู้แทนชาวโรฮิงญาได้ยื่นฟ้องศาลทั้งในสหรัฐฯ และอังกฤษเพื่อดำเนินคดีกับเฟซบุ๊ก รวมถึงร้องเรียนต่อองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ว่าเฟซบุ๊กละเมิดข้อแนะนำการประกอบธุรกิจของบริษัทข้ามชาติ (Guidelines for Multinational Enterprises) ด้วยการปล่อยให้แพลตฟอร์มถูกใช้เป็นช่องทางปลุกปั่นความรุนแรงต่อชุมชนชาวโรฮิงญา

ในเอกสารคำฟ้องที่ยื่นต่อศาลรัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อเดือน ธ.ค.ปีที่แล้ว ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาได้เรียกร้องค่าเสียหายจากเมตา (Meta) บริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก เป็นเงิน 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

“การที่เมตาปฏิเสธไม่ยอมจ่ายเงินชดเชยให้แก่เหยื่อชาวโรฮิงญามาจนถึงทุกวันนี้ ทั้งๆ ที่คำร้องขอของพวกเขาช่างน้อยนิด เมื่อเทียบกับผลกำไรมหาศาลของบริษัท ยิ่งทำให้เห็นว่าบริษัทแห่งนี้ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อข้อเท็จจริงเรื่องผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนเลย” แอมเนสตี้ฯ ระบุ

เฟซบุ๊ก ประกาศจะปรับปรุงค่านิยมองค์กรและการปฏิบัติงานเพื่อต่อต้านข้อมูลบิดเบือนต่างๆ โดยเฉพาะในแง่ของการเมืองและการเลือกตั้ง นอกจากนี้ ยังได้จับมือเป็นหุ้นส่วนกับสื่อหลายสำนัก เช่น เอเอฟพี เพื่อที่จะตรวจสอบโพสต์ต่างๆ และลบเนื้อหาที่ไม่เป็นจริงออกไปจากแพลตฟอร์ม

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า