Newsข่าวนโยบายและการพัฒนาสั่งปิดโพรงต้นช้าม่วง จ.นครศรีธรรมราช หลังพบ นนท.ติดเชื้อทางเดินหายใจนับ 10 ราย

สั่งปิดโพรงต้นช้าม่วง จ.นครศรีธรรมราช หลังพบ นนท.ติดเชื้อทางเดินหายใจนับ 10 ราย

นครศรีธรรมราช – นายอำเภอทุ่งสง บุกสำรวจโพรงต้นช้าม่วง อายุกว่า 100 ปี ในเขตอุทยานฯ หลังทำนักท่องเที่ยวป่วยทางเดินหายใจนับ 10 ราย พร้อมสั่งปิดด่วนเพื่อตรวจสอบ

 

นายถิรนาท เอสะนาชาตัง นายอำเภอทุ่งสง จ.นครสรีธรรมราช พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ปลัดอำเภอร่วมกับนายสัตวแพทย์ ภัทรพล มณีอ่อน พร้อมเจ้าหน้าที่กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ,คณะสัตวแพทย์ มทร.ศรีวิชัย, เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุ่งสง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบโพรงไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง พื้นที่หมู่ 5 ต.นาหลวงเสน อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

 

หลังได้รับแจ้งว่า มีนักท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เดินป่า มาท่องเที่ยวเส้นทางธรรมชาติที่เขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง แล้วเข้าไปในโพรงต้นช้าม่วง หลังจากนั้น 1 – 2 สัปดาห์ เกิดอาการล้มป่วย อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย แพทย์จึงเก็บชิ้นเนื้อตรวจแล็ป และพบว่าในปอดมีเชื้อราเจริญเติบโต แพทย์จึงต้องทำการรักษาอย่างเร่งด่วนตามอาการ 

 

ก่อนหน้านี้ นายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เตือนพบผู้ป่วยโรคฮิสโตพลาสโมซิส หลังเข้าไปในโพรงต้นไม้ดังกล่าว โดยระบุว่า ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ว่าการเดินเข้าไปในโพรงต้นไม้ใหญ่ในป่า เพื่อชมค้างคาวในเวลาเพียง 2-15 นาที จะหายใจเอาสปอร์ของเชื้อราฮิสโตพลาสมา แคปซูลาตุม (Histoplasma capsulatum) ที่ลอยขึ้นมาในอากาศจากมูลค้างคาวที่ตกลงบนพื้นดิน เข้าไปในปอด ทำให้ป่วยเป็นโรคฮิสโตพลาสโมซิส (Histoplasmosis)

 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 65 มีคณะเดินทางศึกษาธรรมชาติเข้าไปในโพรงต้นไม้ดังกล่าว หลังจากนั้น 2-3 สัปดาห์ต่อมา 7 ใน 10 คนของคณะนี้ บางคนเริ่มป่วย ไอ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เอกซเรย์ปอด 7 คน พบว่ามีจุดขนาดแตกต่างกันกระจายทั่วปอด ไล่ตั้งแต่คนมีจุดเล็กที่สุดในปอดขนาด 3 มิลลิเมตร ไปจนถึงคนที่มีลักษณะเป็นก้อนขนาด 1 เซนติเมตร กระจายทั่วปอด คนที่มีก้อนในปอดพิสูจน์แล้วว่า เป็นโรคฮิสโตพลาสโมซิส ด้วยการตัดชิ้นเนื้อจากปอดพบเชื้อรา Histoplasma capsulatum ที่เจริญเติบโตแบ่งตัวในปอด

 

ต้นช้าม่วง เป็นต้นไม้กลุ่มวงศ์ยาง อายุกว่า 100 ปี สูงกว่า 40 เมตร โพรงต้นไม้นี้เกิดตามธรรมชาติ ขนาดโพรงสูงประมาณ 3 เมตร มีขนาดแคบเข้าไปได้ทีละคน โดยต้องก้มศีรษะเพื่อเข้าในโพรง ต้นไม้นี้เป็นที่อยู่อาศัยของ “ค้างคาวแวมไพร์แปลงเล็ก” (Lesser false vampire bat ) จากการสำรวจ พบว่าในโพรงมีมูลค้างคาวเป็นจำนวนมาก

 

คาดว่านักท่องเที่ยวได้เข้าไปในโพรง โดยไม่มีการสวมชุด สวมแมสก์ป้องกัน และระหว่างอยู่ในโพรงต้นไม้มีการสูดดมมูลค้างคาว และมูลสัตว์ที่อยู่ในโพรงเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจ และล้มป่วยลง เบื้องต้นได้เก็บตัวอย่างดินและมูลค้างคาวในโพรงต้นไม้ไปตรวจสอบหาเชื้อโรค พร้อมกับติดป้ายห้ามเข้าโพรงต้นไม้อย่างเด็ดขาด

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า