Newsกรมราง หารือ ญี่ปุ่น เร่งศึกษาลงทุน “รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่”

กรมราง หารือ ญี่ปุ่น เร่งศึกษาลงทุน “รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่”

กรมรางหารือ MLIT-JICA เร่งสรุปการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและการเงิน รถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เป็นประธานการประชุมหารือด้านเทคนิคโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยมีผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)  สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 

ร่วมกับผู้แทนจากฝ่ายญี่ปุ่น ประกอบด้วย ผู้แทนจากกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น (MLIT) Japan Railway Construction, Transport and Technology Agency (JRTT) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เพื่อร่วมกันพิจารณารายงานฉบับกลางของการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและการเงินของโครงการ

โดยฝ่ายญี่ปุ่นได้รายงานความเป็นมา วัตถุประสงค์ และการวิเคราะห์ทางการเงิน นับตั้งแต่องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ JICA ได้ศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study : FS) ในปี พ.ศ. 2560 เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพโครงการ การลดต้นทุน และการประเมินความต้องการเดินทางอีกครั้ง โดยการวิเคราะห์ทางการเงินจะจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย และใช้สมมติฐานที่เปลี่ยนไป

รวมถึงความก้าวหน้าของการวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้มีการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางจราจรที่ใช้ในการศึกษาที่ผ่านมา และการทบทวนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยฝ่ายญี่ปุ่นจะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งผลกระทบของการลดการปล่อย CO2 จะถูกนำมารวมอยู่ในผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยฝ่ายญี่ปุ่นนำเสนอกรอบระยะเวลาการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและการเงิน โดยจะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2566

ทั้งนี้ กรมรางได้เสนอให้ฝ่ายญี่ปุ่นพิจารณาศึกษาการคาดการณ์ผลตอบแทนเศรษฐกิจเชิงกว้าง (Wider Economic Benefits) จากการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง โดยนำกรณีศึกษาการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีในประเทศญี่ปุ่นมาเป็นแนวทางดำเนินการ เช่น กรณีการพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีมินาโตะมิไร เมืองโยโกฮามา ซึ่งเป็นสถานีที่รถไฟความเร็วสูงวิ่งผ่าน โดยบริเวณสถานีมีการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ นำมาซึ่งการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการคมนาคมขนส่งและการท่องเที่ยวที่นำไปสู่การพัฒนาเมืองใหม่ มาใช้ในการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและการเงินเพื่อเพิ่มความเหมาะสมของโครงการต่อไป

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เบื้องต้นแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 

  1. เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. วงเงินลงทุนประมาณ 2.12 แสนล้านบาท
  2. เส้นทางพิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 288 กม. วงเงินลงทุนประมาณ 2.32 แสนล้านบาท โดยกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างศึกษาสรุปรูปแบบการลงทุน

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า