Articlesปรับเป็นพินัย กฎหมายใหม่เพื่อ ‘คนตัวเล็ก’ และระบบ Day Fine การคิดค่าปรับ จากฐานะหรือรายได้ของผู้กระทำผิด

ปรับเป็นพินัย กฎหมายใหม่เพื่อ ‘คนตัวเล็ก’ และระบบ Day Fine การคิดค่าปรับ จากฐานะหรือรายได้ของผู้กระทำผิด

กฎหมายฉบับใหม่ที่อาจถือได้ว่าเป็น ‘ผลงานชิ้นโบว์แดง’ ของรัฐบาลประยุทธ์ คือ การปฏิรูปกฎหมาย ด้วย “พ.ร.บ.การปรับเป็นพินัย” ซึ่งจะช่วยทำให้ประชาชนตัวเล็กตัวน้อยที่ทำผิดทางอาญาที่ไม่รุนแรง ไม่มีโทษถึงจำคุก ให้ไม่ต้องถูกกักขังระหว่างคดี ไม่ถูกบันทึกประวัติ แต่คงไว้แค่การจ่าย ‘ค่าปรับ’ หรือ ‘บริการสั่งคม/บำเพ็ญประโยชน์’ แทน

 

ที่สำคัญคือ กฎหมายนี้จะคำนวณค่าปรับจาก ‘ฐานะทางเศรษฐกิจ’ รวมถึงแม้จะไม่จ่ายค่าปรับและถูกส่งฟ้อง ศาลอาจจะพิจารณาลดโทษหรือแค่ตักเตือน หากเป็นการกระทำความผิดเพราะความยากจน

 

เช่น ไม่แสดงใบขับขี่ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท สูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ ปรับไม่เกิน 2,000 บาท จอดรถขายผลไม้ริมถนนสาธารณะ ปรับไม่เกิน 2,000 บาท เหล่านี้จะถูกปรับเป็นโทษ ‘ปรับเป็นพินัย’ ที่ไม่มีการกักขัง ทำประวัติ และค่าปรับคิดตามฐานะผู้ทำผิด

 

รายละเอียดสำคัญของร่างกฎหมายนี้ มีดังนี้

  1. เปลี่ยนโทษปรับทางอาญาในกฎหมาย 200 ฉบับ ให้เป็น “โทษปรับทางพินัย” ที่ไม่ใช่โทษทางอาญาแทน จึงไม่มีการกักขังแทนค่าปรับในกฎหมาย 200 ฉบับนี้อีกต่อไป
  2. รับโทษปรับอย่างเดียว โดยไม่มีการกักขังระหว่างพิจารณาคดี ไม่ต้องเป็นภาระในการประกันตัว
  3. ไม่ถูกบันทึกประวัติอาชญากรรม ไม่ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือให้เสียประวัติ กระทบต่อหน้าที่การงาน
  4. คิดค่าปรับตามฐานะทางเศรษฐกิจของผู้กระทำผิด รวมถึงสภาพแวดล้อมในการกระทำผิด
  5. ค่าปรับสามารถลด งดเว้น หรือผ่อนชำระได้
  6. เลือกทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับได้.
  7. ศาลอาจพิจารณาลดค่าปรับ หรือเพียงแค่ตักเตือนโดยไม่ต้องปรับได้ หากเป็นการกระทำผิดเพราะความยากจน โดยศาลจะคำนึงถึงพฤติกรรมการกระทำผิดและสถานะทางเศรษฐกิจด้วยเสมอ

 

กฎหมายการปรับเป็นพินัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบการกำหนดโทษใหม่ ตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย ที่ศึกษามาจากหลายประเทศทางยุโรป เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และโปรตุเกส แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย

 

ประเด็นสำคัญอีกประการของร่างกฎหมายนี้ คือ ระบบ Day Fine หรือระบุค่าปรับเป็น ‘จำนวนวัน x รายได้สุทธิต่อวันของผู้กระทำความผิด’ ที่จะทำให้การคิดค่าปรับสอดคล้องกับฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ทำผิด

 

หลักการสำคัญของระบบ day fine คือไม่ระบุค่าปรับเป็นจำนวนเงินตายตัว แต่ระบุเป็นจำนวนวัน ตามระดับความรุนแรงของฐานความผิด โดยแต่ละวันจะแปรเป็นจำนวนเงินไม่เท่ากัน เพราะคิดเป็นเงินตามรายได้ของผู้กระทำความผิดในแต่ละคดีต่อ 1 วัน โดยอิงจากฐานการเสียภาษีรายได้ส่วนบุคคลประจำปี

 

“ค่าปรับ = จำนวนวัน x รายได้สุทธิต่อวันของผู้กระทำความผิด” นอกจากนี้ยังมีระบบการหักค่าใช้จ่ายที่บุคคลผู้กระทำความผิดต้องดูแลรับผิดชอบบุคคลอื่น เพื่อมิให้บุคคลอื่นต้องมาเดือดร้อนไปด้วย

 

ระบบนี้ถูกใช้ครั้งแรกในประเทศกลุ่มแสกนดิเนเวียน ปี ค.ศ. 1921 จากนั้นเยอรมันนีกับสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มนำมาปรับใช้บางส่วน ซึ่งร่างกฎหมายปรับเป็นพินัยนี้ จะยึดหลักการเดียวกัน โดยจะค่อยๆ นำมาปรับกับโทษในคดีความต่างๆ เป็นลำดับขั้นไป

 

และเมื่อร่างกฎหมายนี้ถูกบังคับใช้ จะถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการปฏิรูปกฎหมายอาญาครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ที่จะทำให้ระบบยุติธรรมไทยยืนหยัดหลักสากลในการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้อย่างภาคภูมิใจ

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า