Newsจับตายุทธศาสตร์สถานี EV ในประเทศ กับการใช้ ‘สถานีบริการน้ำมัน’ ทั่วประเทศ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้ใช้ EV ในอนาคต

จับตายุทธศาสตร์สถานี EV ในประเทศ กับการใช้ ‘สถานีบริการน้ำมัน’ ทั่วประเทศ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้ใช้ EV ในอนาคต

ที่ผ่านมาทุกคนคงได้เห็นแล้วว่าตอนนี้ทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับกระแสยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV กันเป็นอย่างมาก แต่จะมีสักกี่ประเทศที่มีความพร้อมในการสร้างระบบนิเวศของยานยนต์ไฟฟ้า หรือ ‘EV Ecosystem’ ได้อย่างแท้จริง

 

การจะเข้าสู่ EV Ecosystem หมายถึง การเปลี่ยนจากการใช้น้ำมันและก๊าซมาเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งแปลว่าโรงไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่มีอยู่ อาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

 

ไหนจะเรื่องการเตรียมความพร้อมสำหรับการผลิตแบตเตอรี่ และการรีไซเคิลแบตเตอรี่จำนวนมหาศาล ให้ไม่กลายเป็นขยะมลพิษที่สร้างปัญหากับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ

 

แต่เรื่องที่จะพูดถึงในวันนี้ อยู่ใกล้ตัวพวกเรามากที่สุด นั่นคือ ‘สถานีชาร์จไฟฟ้า’ เพราะคงไม่ใช่ทุกบ้านที่มีระบบไฟฟ้าสำหรับการชาร์จรถ EV ดังนั้นการเตรียมสถานีชาร์จไฟให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อรองรับการใช้ EV จึงเป็นหัวใจสำคัญอีกประการที่จะทำให้คนหันมาใช้รถ EV มากขึ้น

 

เพราะคงไม่มีใครอยากขับรถไปแล้วไฟหมดกลางทางแน่นอน…

 

————–

ระบบชาร์จและจำนวนสถานีชาร์จ

————–

 

ปัจจุบันการคิดค่าชาร์จไฟตามสถานีต่างๆ มีราคาต่อหน่วยต่างกันไป นอกจากนี้การคิดค่าชาร์จ ยังใช้ระบบคิดราคาแบบ TOU (Time of Use) โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ

 

  1. On-Peak (ช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟมาก) คือ 9.00 – 22.00 ของวันธรรมดา

 

  1. Off-Peak (ช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟน้อย) คือ 22.00 – 09.00

 

ขณะเดียวกันรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก็รองรับกำลังไฟได้แตกต่างกันไป ตั้งแต่ 60kW – 200kW ซึ่งเครื่องกำลังไฟ 200kW ยังไม่มีเอามาใช้ในไทย ตอนนี้กำลังไฟสูงสุดของสถานีชาร์จจะอยู่ที่ 160kW ซึ่งเป็นสถานีชาร์จ EV Station PluZ ของเครือ ปตท.นั่นเอง

 

ขณะที่จำนวนสถานีชาร์จหรือสถานีอัดประจุ หากอ้างอิงจากข้อมูลจากกระทรวงพลังงาน ณ วันที่ 4 มีนาคม 2565 จะพบว่าประเทศไทยมีสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับ EV ทั้งสิ้น 944 สถานี ทั่วประเทศ โดย 5 อันดับแรกได้แก่

 

  1. บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด (EA) 417 สถานี
  2. บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด 120 สถานี
  3. บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) 108 สถานี
  4. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 73 สถานี
  5. สถานีอัดประจุจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย 68 สถานี

 

*** ซึ่งในระหว่างช่วง ต้น-ปลายปี 2565 บริษัทเหล่านี้ได้มีขยายจุดชาร์จไปยังพื้นที่ต่างๆ อีกมาก เช่น ตามบริษัทห้างร้าน สำนักงาน โชว์รูมรถยนต์ และห้างสรรพสินค้าต่างๆ

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า