Newsรมว.ทรัพยากรธรรมชาติออสเตรเลียระบุ การสกัดแร่แรร์เอิร์ธจากจีนเป็น “เรื่องเพ้อฝัน” เหตุจีนยังครองอำนาจการตลาดใหญ่ของโลก

รมว.ทรัพยากรธรรมชาติออสเตรเลียระบุ การสกัดแร่แรร์เอิร์ธจากจีนเป็น “เรื่องเพ้อฝัน” เหตุจีนยังครองอำนาจการตลาดใหญ่ของโลก

รมว.ทรัพยากรธรรมชาติออสเตรเลีย นางเมเดอลีน คิง กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg ว่า การที่ชาติตะวันตกจะสามารถยุติการพึ่งพาแร่แรร์เอิร์ธและธาตุหายากจากจีน ซึ่งมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการผลิตอาวุธ ยานยนต์ การบินและอวกาศ ในเร็ววัน ถือ ‘เป็นเรื่องเพ้อฝัน’ เนื่องจากจีนกุมอำนาจในตลาดแร่แรร์เอิร์ธอยู่ 

อย่างไรก็ตาม ออสเตรเลียกับสหรัฐฯ จะยังคงทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมแร่หายากต่อไป เพื่อพยายามทำลายอำนาจการผูกขาดตลาดแร่หายากของจีน ขณะที่ออสเตรเลียตั้งเป้าจะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรแร่หายากที่มีอยู่ในประเทศอย่างเต็มที่เพื่อลดการพึ่งพาจากจีน คิงกล่าว 

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ได้ลงนามในข้อตกลงมูลค่า 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.86 พันล้านบาท) ร่วมกับ Lynas Rare Earths ของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่เพียงแห่งเดียวนอกประเทศจีนที่ผลิตและกลั่นแร่หายาก ในการก่อสร้างโรงงานแปรรูปแรร์เอิร์ธแห่งแรกในสหรัฐฯ 

คิง กล่าวเสริมว่า รัฐบาลออสเตรเลียไม่ได้พิจารณาการลงทุนโดยตรงในห่วงโซ่อุปทานแร่ธาตุสำคัญเหมือนกับสหรัฐฯ แต่เลือกที่จะให้เงินกู้เพื่อยกระดับกำลังการผลิตในประเทศแทน 

นอกจากนี้รัฐบาลออสเตรเลียกำลังเตรียมออกมาตรการเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ให้มาลงทุนในห่วงโซ่อุปทานแร่ธาตุสำคัญในประเทศด้วย

ลิเทียมและแร่ธาตุสำคัญอื่นๆ รวมถึงโคบอลต์ แพลตตินัม และแรร์เอิร์ธถูกนำมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศและการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  เช่น เครื่องยนต์ไอพ่น แผงโซลาร์เซลล์ และยานพาหนะไฟฟ้า ซึ่งออสเตรเลียเป็นหนึ่งในผู้ผลิตแร่ธาตุสำคัญรายใหญ่ที่สุดของโลก

การส่งออกลิเทียมของออสเตรเลียในงบปีการเงิน 2022 คาดว่าจะแตะระดับ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 3.34 แสนล้านบาท) ขณะที่ตัวเลขการส่งออกถ่านหิน ก๊าซและแร่เหล็ก จะมีมูลค่ากว่า 3 แสนล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 7.2 ล้านล้านบาท)

(1 ดอลลาร์ออสเตรเลีย = 23.85 บาท)

#TheStructureNews

#Australia #US #RareEarth

 

ที่มา:

[1] https://www.bloomberg.com/news/articles/2022-10-31/breaking-china-s-rare-earths-grip-a-pipe-dream-australia-says

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า