Newsธนาคารกลางอินเดียเตือน ตลาดคริปโตฯ ภาคเอกชน อาจก่อให้เกิด ‘วิกฤตการเงินโลกครั้งใหม่’ สาเหตุเพราะ มีแต่เก็งกำไร แต่ไร้มูลค่าที่แท้จริง

ธนาคารกลางอินเดียเตือน ตลาดคริปโตฯ ภาคเอกชน อาจก่อให้เกิด ‘วิกฤตการเงินโลกครั้งใหม่’ สาเหตุเพราะ มีแต่เก็งกำไร แต่ไร้มูลค่าที่แท้จริง

21 ธันวาคม 2565 นายชัคติคานตา ดาส ผู้ว่าการธนาคารกลางอินเดียเตือนว่า ‘คริปโตฯ ภาคเอกชน’ จะเป็นสาเหตุของวิกฤตการเงินโลกครั้งต่อไป โดยให้เหตุผลว่า เป็นสินทรัพย์เพื่อการเก็งกำไรล้วนๆ ที่ไม่มีมูลค่าอ้างอิงใดๆ 

 

นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำว่าการล่มสลายของ FTX อดีตแพลตฟอร์มซื้อขายคริปโตฯ อันดับ 2 ของโลก เป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นถึงความเสี่ยงของตลาดคริปโตฯ ต่อเศรษฐกิจมหภาคและเสถียรภาพทางการเงินของอินเดีย และสมควรที่จะถูกแบน

 

ทั้งนี้ ความเห็นของดาสมีขึ้นในขณะที่ธนาคารกลางอินเดียกำลังเร่งดำเนินการเพื่อเปิดตัว ‘รูปีดิจิทัล’ (e-Rupee)

 

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา ธนาคารกลางอินเดียได้เริ่มโครงการนำร่องทดสอบสกุลเงินดิจิทัลสำหรับการทำธุรกรรมรายย่อยในบางเมือง โดยผู้ใช้บางรายสามารถทำธุรกรรมโดยใช้เงินรูปีดิจิทัลผ่านแอปฯหรือ e-Wallet

 

รูปีดิจิทัล คือเงินสกุลดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC) ซึ่งในขณะนี้ธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกกำลังพิจารณาออกสกุลเงินของตัวเองในรูปแบบดิจิทัล โดยดาสอธิบายว่า CBDC สามารถเร่งรัดการโอนเงินระหว่างประเทศและลดความจำเป็นด้านโลจิสติกส์ได้

 

ในปัจจุบัน จีนเป็นผู้นำในด้านการพัฒนา CBDC โดยจีนได้ทดลองใช้ หยวนดิจิทัลตั้งแต่ช่วงปลายปี 2020 และกำลังขยายความพร้อมให้บริการแก่ผู้ใช้จำนวนมากขึ้นในปีนี้

 

ทั้งนี้ กฎระเบียบควบคุมสกุลเงินดิจิทัลได้รับความสนใจมากขึ้นในปีนี้ หลังจากที่มูลค่าตลาดคริปโตฯ ลดฮวบถึง 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 45 ล้านล้านบาท) และการล่มสลายของ FTX

 

ขณะที่รัฐบาลอินเดียกำลังร่างกฎหมายควบคุมคริปโตฯ ที่อาจห้ามกิจกรรมบางอย่างเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล ควบคู่ไปกับการสร้างกรอบทางกฎหมายสำหรับ CBDC


(1 ดอลลาร์ = 34.69 บาท)

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า