News“โอนเงินเกิน 5 หมื่น-เปลี่ยนวงเงิน” ต้องสแกนหน้า ธปท. เร่งออกมาตรการแก้ปัญหามิจฉาชีพ

“โอนเงินเกิน 5 หมื่น-เปลี่ยนวงเงิน” ต้องสแกนหน้า ธปท. เร่งออกมาตรการแก้ปัญหามิจฉาชีพ

ธปท. ออกมาตรการแก้ปัญหามิจฉาชีพ หากโอนเงินเกิน 50,000 บาท-เปลี่ยนวงเงิน ต้องสแกนใบหน้า สั่งห้ามสถาบันการเงินส่ง SMS-อีเมลแนบลิงก์ 

 

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการป้องกันภัยทุจริตทางการเงินที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและหลากหลายรูปแบบ ธปท. จึงออกแนวนโยบายเป็นชุดมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงินที่ดูแลตลอดเส้นทางการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยกำหนดเป็นแนวปฏิบัติขั้นต่ำให้สถาบันการเงินทุกแห่ง ปฏิบัติตามเป็นมาตรฐานเดียวกัน ดังนี้

 

  1. มาตรการป้องกัน ปิดช่องทางที่มิจฉาชีพจะเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น ให้สถาบันการเงินงดส่งลิงก์ทุกประเภทผ่าน SMS อีเมล และงดส่งลิงก์ขอข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้งาน รหัสผ่าน และเลขบัตรประชาชนผ่านโซเชียลมีเดีย จำกัดจำนวนบัญชีผู้ใช้งาน mobile banking (username) ต่อ 1 อุปกรณ์เท่านั้น ต้องแจ้งเตือนก่อนทำธุรกรรมบน mobile banking ทุกครั้ง และพัฒนาระบบความปลอดภัย ให้เท่าทันภัยการเงินรูปแบบใหม่อยู่ตลอดเวลา

 

พร้อมทั้งยกระดับความเข้มงวดในกระบวนการยืนยันตัวตนขั้นต่ำ ด้วยการใช้เทคโนโลยีเปรียบเทียบข้อมูลอัตลักษณ์ทางกายภาพของลูกค้า เช่น สแกนใบหน้า ในกรณีลูกค้าขอเปิดบัญชีโดยผ่านแอปพลิเคชัน หรือทำธุรกรรมผ่านโมบายแบงก์กิ้ง ในเงื่อนไขที่กำหนดเช่น โอนเงินมากกว่า 50,000 บาท หรือปรับเพิ่มวงเงินทำธุรกรรมต่อวันเป็นตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป กำหนดเพดานวงเงินถอน โอนสูงสุดต่อวันให้เหมาะสมตามระดับความเสี่ยงของกลุ่มผู้ใช้บริการ โดยลูกค้าสามารถขอปรับได้ตามความจำเป็น และต้องยืนยันตัวตน

 

  1. มาตรการตรวจจับและติดตามบัญชีหรือธุรกรรมต้องสงสัย ธปท. จะกำหนดเงื่อนไข เพื่อให้สถาบันการเงินรายงานไปสำนักงาน ปปง. รวมทั้งต้องมีระบบตรวจจับและติดตามบัญชีหรือธุรกรรมต้องสงสัยแบบ near real-time เพื่อให้สามารถระงับธุรกรรมได้ทันทีเป็นการชั่วคราวเมื่อตรวจพบ

 

  1. มาตรการตอบสนองและรับมือ ให้สถาบันการเงินทุกแห่งต้องมีสายด่วน 24 ชั่วโมง แยกจากช่องทางให้บริการปกติ เพื่อให้ผู้ใช้บริการแจ้งเหตุได้โดยเร็ว รวมทั้งดูแลรับผิดชอบผู้ใช้บริการ หากพบว่าความเสียหายเกิดจากข้อบกพร่องของสถาบันการเงิน

 

ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินทุกแห่งต้องดำเนินมาตรการทั้งหมดโดยเร็วให้แล้วเสร็จในเดือน ธ.ค.2566 โดยจะประเมินและทบทวนปรับปรุงเป็นระยะ การจัดการและแก้ไขภัยทางการเงินได้อย่างเบ็ดเสร็จขึ้น ต้องอาศัย พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งคาดว่าจะสามารถประกาศใช้ทันรัฐบาลชุดนี้ 

จากสถิติ ปี 2565 พบว่ารูปแบบการหลอกลวงดูดงินจากบัตรเดบิตและเครดิตลดลงกว่าครึ่ง แต่การหลอกลวงผ่านโมบายแบงก์กิ้ง กลับมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 79% มูลค่าความเสียหายเพิ่มขึ้น 72% มูลค่าความเสียหายถูกหลอกดูดเงินทางแอปพลิเคชันมากกว่า 500 ล้านบาท

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า