Articlesเที่ยวบินโดยสารเชิงพาณิชย์ เชื้อเพลิงชีวภาพ 100%: ความสำเร็จในยุโรป ที่ส่งผลกระทบถึงประเทศไทย

เที่ยวบินโดยสารเชิงพาณิชย์ เชื้อเพลิงชีวภาพ 100%: ความสำเร็จในยุโรป ที่ส่งผลกระทบถึงประเทศไทย

เครื่องบินเป็นอีกหนึ่งต้นตอของการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมการบินจะมีสัดส่วนของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงประมาณ 2%   [1] แต่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International civil Aviation Organization: ICAO) ออกมาสนับสนุนให้มีการทดแทนเชื้อเพลิงอากาศยานหรือน้ำมันเจ็ทที่ผลิตจากฟอสซิลด้วยการใช้ SAF ในสัดส่วนที่เหมาะสมภายในปี 2050 ด้วยเช่นกัน [2]

 

ข่าวที่น่ายินดีคือ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ที่ผ่านมา ATR Aircraft บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินสัญชาติอิตาลี-ฝรั่งเศส ประกาศความสำเร็จของบริษัทในการทดลองเที่ยวบินเชิงพาณิชย์เที่ยวแรกของโลกที่ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ หรือ เชื้อเพลิงอากาศยานที่ยั่งยืน (sustainable aviation fuels: SAF) ได้สำเร็จ โดยในการทดสอบนี้ ใช้เครื่องบิน ATR-72 เป็นเครื่องบินทดลอง [3] [4]

 

เที่ยวบินทดสอบดังกล่าว ขึ้นบิน 2 เที่ยว เที่ยวละไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง และทดสอบเดินเครื่องยนต์ไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง โดยตัวเครื่องบินและสายการบินผู้เข้าร่วมโครงการคือสายการบิน บราเท็นส์ (Braathens) ของสวีเดน [3][4]

 

สำหรับเครื่องบินรุ่น ATR-72 เป็นเครื่องบินพาณิชย์สำหรับการบินในภูมิภาค มีพิสัยการบิน 1,528 km ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เทอร์โบ พร็อพเพลเลอร์ 6 ใบพัด มีอัตรากินน้ำมันที่ 1.49 กิโลกรัมต่อกิโลเมตร [5] 

 

แต่ในเที่ยวบินทดสอบนี้ ใช้เครื่องยนต์ใหม่ที่ถูกตั้งชื่อเครื่องยนต์ใหม่ว่า “XT”  [3] ซึ่งวิศวกรของ ATR ให้ข่าวว่า สามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึง 46% เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงฟอสซิล ที่เคยใช้กันอยู่แต่เดิม [3]

 

สำนักข่าว Aviaci online ให้ข่าวต่อว่า สายการบิน บราเท็นส์ รีจินอล (Braathens Regional) มีฐานอยู่ที่เมือง ตรอลเฮตตัน (Trollhättan) ประเทศสวีเดน โดยปกติมีเที่ยวบินเชื่อมต่อระหว่างเมืองในประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ มีแผนการที่จะขยายมาใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ 100% ในปี พ.ศ. 2567-2568 โดยมีบริษัทเนสเต้ (Neste) เป็นผู้จัดหาเชื้อเพลิง [4]

 

สำหรับประเทศไทยนั้น ในพื้นที่ EEC มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับอากาศยาน ไม่ว่าจะเป็นห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chains) ที่เกี่ยวกับการบินและโรงกลั่นน้ำมันที่มีบุคลากรที่มีความรู้ด้านการผลิตเชื้อเพลิง อีกทั้งยังมีของเหลือจากภาคการเกษตรอยู่มาก ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปผลิตน้ำมันชีวภาพได้ [2]

 

นอกจากนี้ ภาครัฐยังให้การสนับสนุนทั้งในด้านนโยบายการใช้ และในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ซึ่งเป็นสภาวะเกื้อหนุนที่สำคัญในการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งหากพัฒนาได้ดี ไทยสามารถขึ้นเป็นผู้นำด้านเชื้อเพลิงชีวภาพของภูมิภาคได้ในระยะยาว [2]

 

 

 ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นไปตาม “แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” ที่ถูกประกาศใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา โดยในประเด็นหลัก “การเกษตรสร้างมูลค่า” นั้น รัฐบาลส่งเสริมให้มีการนำวัตถุดิบเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมและพลังงานที่เกี่ยวเนื่องกับชีวภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ [5]

 

และในประเด็นหลัก “อุตสาหกรรมและการบริการแห่งอนาคต” รัฐบาลส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวัตถุชีวมวลในการผลิตพลังงานไฟฟ้าอย่างคุ้มค่า เพื่อลดปัญหาโลกร้อน และสร้างรายได้แก่เกษตรกรเพิ่มมากขึ้น [5]

 

ซึ่งอุตสาหกรรมการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพในอนาคตนั้น สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ที่ต้องการให้ทุกสายการบินในโลกใช้เชื้อเพลิงชีวภาพให้ได้ในอนาคต และการประกาศความสำเร็จของเที่ยวบินเชื้อเพลิงชีวภาพ 100%  ของบริษัท ATR, สายการบิน บราเท็นส์ และ เนสเต้นั้น คือหมุดหมายแห่งความสำเร็จของเที่ยวบินรักโลก ซึ่งจะกลายเป็นแนวโน้มแห่งอนาคตในวันข้างหน้า

 

ประเทศไทยเราโชคดี ที่มีศักยภาพในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ และมี “ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี”  และโครงการ EEC เป็นปัจจัยที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่โอกาสแห่งอนาคต

 

ดังนั้น ความสำเร็จของเที่ยวบินรักโลกที่ยุโรป จึงหมายถึงโอกาสแห่งอนาคตของประเทศไทยด้วยนั่นเอง

 

โดย ศิราวุธ ภุมมะกสิกร

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า