Articlesวันที่เวียตนามประกาศกร้าว “จะบุกยึดกรุงเทพฯ ในสองชั่วโมง” ย้อนรอยสมรภูมิช่องบก ที่ไทยชนะได้ด้วยชั้นเชิงการทูต และแสนยานุภาพทางการทหาร

วันที่เวียตนามประกาศกร้าว “จะบุกยึดกรุงเทพฯ ในสองชั่วโมง” ย้อนรอยสมรภูมิช่องบก ที่ไทยชนะได้ด้วยชั้นเชิงการทูต และแสนยานุภาพทางการทหาร

เป็นข่าวดังทั่วโลกถึงสงครามยูเครน-รัสเซียที่ปะทุขึ้นหลังรัสเซียประกาศรับรองเอกราชของ 2 อดีตแคว้นของยูเครน และส่งกำลังเข้าสู่ยูเครน ซึ่งต้นเหตุของความบาดหมางนี้ หากสืบสาวย้อนหลังจะพบว่า นี่คือการตัดสินใจที่ผิดพลาดของประธานาธิบดียูเครน จากการประเมินสถานการณ์ผิด คิดว่าจะได้กองกำลังพันธมิตรจะยกทัพมาช่วย แต่ที่ได้มาคือยุทโธปกรณ์และคำหวานให้กำลังใจนั่นเอง

และย้อนเวลากลับไป เหตุการณ์แบบนี้ เคยเกิดขึ้นกับประเทศไทยมาก่อน ในห้วงปลายยุคสงครามเย็น หลังจากที่อเมริกาแพ้พ่ายเวียดนามในสงครามเวียดนาม และเวียดนามรุกคืบลงใต้ ยึดครองทั้งลาวและกัมพูชา เหลือเพียงสิ่งเดียวที่ขวางกั้นความทะเยอทะยานของเวียดนาม นั่นคือ “ราชอาณาจักรไทย”

กองทัพคอมมิวนิสต์เวียดนามในเวลานั้น กำลังเป็นทัพผยอง สามารถรบชนะมหาอำนาจอย่างอเมริกา และได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากโซเวียต โปแลนด์ เชโกสโลวาเกีย และเยอรมันตะวันออก เวียดนามผยองถึงขั้นประกาศว่า “จะบุกยึดกรุงเทพได้ในเวลาแค่ 2 ชั่วโมง” (แต่คนไทยสวนว่า คุณทำไม่ได้หรอก เพราะคุณจะเจอรถติดแถวบางนา)

ในขณะที่ไทยนั้น ไม่เพียงจะต้องรบอย่างเดียวดายแล้ว ไทยยังต้องสู้รบกับพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศอีกด้วย เรียกได้ว่า “ศึกในยังไม่จบ ศึกนอกก็ต้องรบ” ได้เลย และอเมริกา ส่งมาได้เพียงแค่อาวุธ ไม่สามารถส่งกำลังมาช่วยได้ เพราะเคยพ่ายสงครามเวียดนามมา

นี่คือสถานการณ์ที่ไทยต้องเผชิญใน “เหตุปะทะชายแดนไทยเวียดนาม” หรือ “สมรภูมิช่องบก” ที่กินเวลายืดเยื้อยาวนานถึง 10 ปี (พ.ศ. 2522 – 2532)

แต่ด้วยชั้นเชิงทางการทูตอันเหนือชั้นของไทย ที่มีการวางแผนด้วยสถานการณ์ (Scenario planning) เล็งเห็นถึงท่าทีที่เปลี่ยนไปของอเมริกาหลังพ่ายสงครามเวียดนาม และเริ่มดำเนินการทางการทูตกับทั้งโซเวียต และจีน [1] ซึ่งไทยประสพความสำเร็จในการสานสัมพันธ์กับทั้งจีนและโซเวียตได้ก่อนที่เหตุการณ์ปะทะระหว่างไทยกับเวียดนามจะเกิดขึ้นด้วยซ้ำ [2] [3]

และด้วยสายตาอันแหลมคมของไทย ที่ฉกฉวยประโยชน์จากความขัดแย้งระหว่าง 2 มหาอำนาจคอมมิวนิสต์ โซเวียต-จีน ไทยพบว่า จีนคอมมิวนิสต์ ไม่พอใจเวียดนามที่กำลังผยองเนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากโซเวียต และวางตัวหมางเมินกับจีน โดยเฉพาะ ปมที่เวียดนามยกทัพเข้ามาล้มล้างรัฐบาลเขมรแดงที่จีนหนุนหลังอยู่

ไทยจึงส่งคณะทูตลับเข้าทำการเจรจา จนกลายเป็นที่มาของ “สงครามสั่งสอนเวียดนาม” ในแนวชายแดนตอนเหนือของเวียดนาม จนเวียดนาม ต้องถอนกำลังหลักจากแนวชายแดนไทย ขึ้นไปป้องกันประเทศทางเหนือแทน

นอกจากนี้ พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังเป็นตัวกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยรอยร้าวฉานระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ไทยและรัฐบาลไทย ช่วยให้คนไทยได้กลับมาปรองดองสมานฉันท์ ร่วมมือกันพัฒนาประเทศร่วมกันอีกครั้ง [4]

เรื่องนี้ต้องขอบคุณ เหล่าสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ไทยในเวลานั้นด้วย “ที่เห็นแก่เอกราช และผลประโยชน์ของชาติ อยู่เหนืออุดมการณ์ของตน” ลูกหลานยุคปัจจุบันขอขอบคุณจริงจริง

ด้วยการสงบศึกภายใน และอาศัยปัจจัยภายนอกเข้ามาช่วยเหลือ ไทยพลิกเกมกลับ ด้วยการเปิดแนวรบทางเศรษฐกิจและการทูต บีบให้เวียดนามถูกโดดเดี่ยว จนทำให้เศรษกิจเวียดนามซวนเซ ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากโซเวียต

สุดท้าย เศรษฐกิจของโซเวียตทรุด ไม่สามารถช่วยเหลือเวียดนามจากการปิดล้อมของไทย-จีน-อเมริกาได้อีกต่อไป เวียดนามจึงยอมเจรจาถอนทหาร และถอนทัพออกไปจากกัมพูชาใน พ.ศ. 2532 คาบสมุทรอินโดจีนเข้าสู่ยุคสันติภาพ และไทย ขึ้นแท่นกลายเป็นผู้นำของภูมิภาคอาเซียนนับแต่นั้นเป็นต้นมา

นี่คือ บทเรียนในอดีตของไทย ที่มีความชาญฉลาดมีชั้นเชิงทางการทูต และมีแสนยานุภาพทางทหารที่เข้มแข็งเพียงพอแก่การป้องกันตนเอง จนสามารถเอาตัวรอดจากวิกฤติที่คล้ายคลึงกับยูเครนในเวลานี้ แต่กลับสามารถพลิกสถานการณ์ จนขึ้นมาเป็นผู้นำของภูมิภาคได้นั่นเอง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า