Newsกลยุทธ์ 3P ของ ปตท. แนวทางสู่ Net Zero สร้างสังคมคาร์บอนต่ำเพื่อคนไทยอย่างยั่งยืน

กลยุทธ์ 3P ของ ปตท. แนวทางสู่ Net Zero สร้างสังคมคาร์บอนต่ำเพื่อคนไทยอย่างยั่งยืน

ไม่ว่าจะเป็น ภัยแล้ง, น้ำท่วม, อากาศร้อนสูงที่ขึ้น, น้ำแข็งขั้วโลกที่ละลายอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้ที่ปรากฏในรายงานข่าวทั่วโลกคือสัญญาณเตือนมนุษยชาติถึงภาวะโลกร้อนและวิกฤต climate change ซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงโลกของเราอยู่ และมีความจำเป็นจะต้องเร่งแก้ไข 

 

โดยสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งนั้นมาจากจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งนำไปสู่ความต้องการในการใช้ทรัพยากรและพลังงานที่มากขึ้นไปด้วย รวมทั้งการขยายตัวของอุตสาหกรรม และการสูญเสียพื้นที่และทรัพยากรป่าไม้อย่างรวดเร็ว ทั้งหมดนี้ทำให้มลพิษสะสมอยู่บนชั้นบรรยากาศ และแก๊สเรือนกระจก (GHG) ซึ่งปกคลุมโลกอยู่นั้นก็จะกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้ ทำให้โลกนั้นร้อนขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นตัวเร่งทำให้มนุษย์ต้องร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหานี้

 

ในการประชุม COP26 ซึ่งคือที่ประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในปี 2565 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ประกาศเจตนารมณ์นำประเทศไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutral ให้ได้ในปี 2593 (ค.ศ. 2050) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ หรือ Net Zero ให้ได้ในปี 2608 (ค.ศ. 2065)

 

ปทต. ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติของไทย ได้มีเป้าหมายร่วมกับภาครัฐในการพาประเทศไทยมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำให้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้นด้วยกลยุทธ์ 3P นั่นคือ 

 

  1. Pursuit of Lower Emissions หรือ การขับเคลื่อนการปล่อยก๊าซให้ต่ำลง เชื่อมโยงเป้าหมาย Clean growth กลุ่ม ปตท. จะดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 15% ภายใน 10 ปี  โดยมีโครงการที่สำคัญ ดังนี้

– ปตท.สผ. นำร่องที่โครงการอาทิตย์ในอ่าวไทย ใช้เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน หรือ CCS ซึ่งอ่าวไทยมีศักยภาพกักเก็บคาร์บอนได้ถึง 40 ล้านตันต่อปี

– ใช้เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนที่เก็บไว้มา ใช้ประโยชน์ หรือ CCU รวมถึงการซื้อขายคาร์บอนเครดิต

– ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในการดำเนินธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

– ใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานไฮโดรเจน เพื่อเป็นเชื้อเพลิงควบคู่การใช้ก๊าซธรรมชาติ

 

  1. Portfolio Transformation หรือ การเปลี่ยนแปลงพอร์ตการลงทุนให้มีความรักษ์โลกมากยิ่งขึ้น เพิ่มสัดส่วน Green Portfolio และบริหารจัดการ Hydrocarbon Portfolio 

– กำหนดเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำ ภายในปี 2030 

– โดยมีงบลงทุนประมาณ 32% ของงบลงทุนทั้งหมด 

– ปัจจุบัน ปตท. ได้ยุติการลงทุนพลังงานถ่านหินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

– ส่วนการลงทุนในเชื้อเพลิงเดิมจะไม่มีการขยายเพิ่ม แต่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น

 

  1. Partnership with Nature and Society หรือ การเป็นหุ้นส่วนความรับผิดชอบและสร้างประโยชน์ต่อธรรมชาติและสังคม เพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกป่า 

– มีแผนจะปลูกป่าเพิ่มอีก 2 ล้านไร่ เพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 4 ล้านตันต่อปี

– ที่ผ่านมา ปตท. ปลูกป่าไปแล้วกว่า 1,000,000 ไร่ ใน 54 จังหวัด ตั้งแต่ปี 25537

– ดูดซับ CO2 ได้มากกว่า 2.1 ล้านตันต่อปี ; ปล่อย O2 สะสม 1.7 ล้านตันต่อปี

– บริษัทในเครือ ปตท. ร่วมปลูกอีก 1,000,000 ไร่

– ช่วยสร้างประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจให้กับชุมชนมาแล้ว มากถึง 280 ล้านบาทต่อปี

 

การดำเนินการของ ปทต. ร่วมกับภาครัฐและเอกชน รวมทั้งหากได้รับความร่วมแรงร่วมใจของประชาชนคนไทยทั่วไป อาจกล่าวได้ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการนำพาประเทศไทยไปสู่เป้าหมาย Carbon Neutral และ Net Zero ได้ตามที่รัฐบาลไทยได้แสดงเจตนารมณ์ไว้ต่อเวทีนานาชาติ และจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้โลกเราแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเผชิญอยู่ได้ไม่มากก็น้อย

 

#TheStructureArticle

#ลดโลกร้อน #ClimateChange #PTT

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า