
จาก “ปุ๋ยตราใบจาก” สู่ผลิตภัณฑ์เพื่อเกษตรกร
เมื่อบริษัทปิโตรเคมีอย่าง GC จับมือวิสาหกิจชุมชน
เดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจกและพัฒนาอย่างยั่งยืน
ปุ๋ยอินทรีย์ตราใบจาก คือ ผลิตภัณฑ์จากวิสาหกิจชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงบ้านวัดจากแดง (คุ้งบางกระเจ้า) วัดจากแดง ที่แก้ปัญหาเศษอาหาร เศษผัก เปลือกผลไม้ กิ่งไม้ใบไม้ในชุมชน ด้วยการเปลี่ยนขยะให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับทำเกษตรปลอดสาร
พระเมธีวชิรโสภณ เจ้าอาวาสวัดจากแดง กล่าวถึงที่มาของโครงการว่า “แรกเริ่มเกิดจากที่วัดมีโรงครัวมีเศษอาหารเหลือก็จะเทลงถังขยะ เกิดการบูดเน่า และสุนัขมาคุ้ยเขี่ย จึงคิดว่า น่าจะนำเศษอาหารเหล่านี้ มาทำประโยชน์ เพื่อช่วยลดขยะและการจัดเก็บ จึงเริ่มทดลองทำปุ๋ยใช้เองภายในวัดมาตั้งแต่ปี 2548”
“ขยะอินทรีย์เนี้ยถ้าเราไปทิ้งลงถังหรือไปอยู่ในบ่อฝังกลบ มันจะเป็นก๊าซมีเทน แก๊สเรือนกระจกที่ปล่อยออกมหาศาล แต่ถ้าเราเอามาหมักเป็นปุ๋ย ก๊าซเหล่านั้นจะหายไป และเราก็จะได้ปุ๋ยใช้”
“ขยะอินทรีย์มีถึง 60% ของขยะ ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว แต่ถ้าเราเอามาทำปุ๋ย กลิ่มเหม็นก็ลดลง ค่าใช้จ่ายในการเอาขยะไปทิ้งก็ลดลง ที่เราได้คืนมา คือได้ปุ๋ย ได้ความสุข ได้สุขภาพ”
พระเมธีวชิรโสภณได้ออกเทศนาและสอนชาวบ้านให้แยกขยะ เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน จากนั้นก็ขอขยะจากชุมชนเพื่อนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งเมื่อชาวบ้ายนำปุ๋ยเหล่านั้นไปใช้ปลูกผักสวนครัว ก็ได้ผลที่ดี ผักมีรสชาติดี ปลอดสารเคมี ขายได้ราคา ทำให้เกิดความร่วมมือเพิ่มขึ้นในชุมชน
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC มองเห็นศักยภาพและพลังแห่งความร่วมมือร่วมใจของชุมชน จึงได้เข้าไปร่วมมือกับชุมชนเพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่มีความแข็งแรงและดูทันสมัย รวมถึงการช่วยเหลือด้านการทำตลาด และการเชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มการขาย จนกเกิดเป็นแบรนด์ “ปุ๋ยตราใบจาก” ที่เห็นกันในปัจจุบัน
ในงาน GC Symposium 2022 ที่พารากอนฮอลล์ในวันที่ 25-26 สิงหาคม 2565 นอกจากที่ GC จะนำปุ๋ยตราใบจาก มาออกงานเพื่อให้ประชาชนได้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากความร่วมแรงร่วมใจของชุมชนกับบริษัทแล้ว
GC ยังได้นำเสนอวัสดุปิโตรเคมีใหม่ๆ ที่จะมาช่วยเพิ่มศักยภาพของภาคการเกษตรและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากขยะพลาสติกต่างๆ เช่น
- ฟิลม์คลุมดินที่จะช่วยป้องกันวัชพืชไม่ให้ขึ้นมารบกวนการเจริญเติบโตของพืชผักชาวบ้าน
- ถุงเพาะชำต้นกล้าที่เป็นวัสดุจากธรรมชาติ (Bio-Based) ซึ่งสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ เมื่อเวลาผ่านไป ทำให้ลดการเกิดขยะของเสียจากพลาสติกในการเพาะปลูก
- พลาสติกคลุมโรงเรือนที่ทำให้เกิดการกระเจิงของแสงธรรมชาติ ช่วยทำให้พืชทางตั้งอย่าง แตงโม เมลอน ได้รับแสงทั่วถึง ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพสูงขึ้นและลดเวลาต่อรอบในการเพาะปลูกลง
- พลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) ซึ่งผลิตจากวัตถุดิบทางการเกษตรอย่าง เศษอ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ทั้งที่อยู่ในรูปของกล่องพลาสติก และถุงพลาสติก ซึ่งจะช่วยยืดระยะเวลาเน่าเสียของพืชผักในบรรจุภัณฑ์จาก 3 วันเป็น 7 วัน นอกจากนี้พลาสติกเหล่านี้ยังสามารถเขากระบวนการย่อยสลายและนำกลับมาขึ้นรูปได้ง่าย ทำให้ลดการเกิดขยะพลาสติกและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจำได้อีกด้วย
ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงการนำนวัตกรรมจากระบบอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ออกไปช่วยเหลือชาวบ้านและชุมชน ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการเกษตร ซึ่งนำไปสูกา ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ พร้อมกับลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปได้ในเวลาเดียวกัน